เว็บไซต์ Google อัปเดตเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ฉลองเทศกาล Christmas
Google ได้อัปเดตเว็บไซต์เพิ่มลูกเล่น ฉลองเทศกาลส่งท้ายปีออกมาให้ผู้ใช้ทดลองเล่น ซึ่งในปีนี้หากผู้ใช้พิมพ์คำว่า Santa หรือ Christmas ลงในช่องคำค้นหาบน Google Search ก็จะมีรูปเตาผิงพร้อมถุงเท้าและของตกแต่งวันคริสต์มาสปรากฏขึ้นมาที่ด้านขวาของหน้าเว็บไซต์
ทาง Google ยังได้รวบรวม เทรนด์การค้นหาเกี่ยวกับคริสต์มาส ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเอาไว้อีกด้วย ซึ่งเมื่อดูจากผลการค้นหาแล้วก็พบว่าประเทศแถบตะวันตกและฝั่งออสเตรเลียให้ความสนใจกับเทศกาลนี้มากกว่าฝั่งเอเชียและแอฟริกาอย่างเห็นได้ชัด
ในส่วน Google Art & Cultures ก็ยังเปิดให้ผู้ใช้ได้ทำการระบายสีรูปภาพการ์ดคริสต์มาสสุดคลาสสิกตามสไตล์ของตนเอง รวมทั้งมีฟีเจอร์อย่าง Blob Opera ให้ผู้ใช้ได้ทดลองสร้างสรรค์เพลงโอเปร่าแบบต่าง ๆ หรือสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดก็สามารถรับฟังเพลงคริสต์มาสจากคณะ Blob Opera ได้
ในส่วน Google Art & Cultures ก็ยังเปิดให้ผู้ใช้ได้ทำการระบายสีรูปภาพการ์ดคริสต์มาสสุดคลาสสิกตามสไตล์ของตนเอง รวมทั้งมีฟีเจอร์อย่าง Blob Opera ให้ผู้ใช้ได้ทดลองสร้างสรรค์เพลงโอเปร่าแบบต่าง ๆ หรือสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดก็สามารถรับฟังเพลงคริสต์มาสจากคณะ Blob Opera ได้
นอกจากนี้ ยังมีการ์ตูนสั้นให้เลือกชมภายในเว็บไซต์ Santa Tracker และหากผู้ใช้กดไปที่ปุ่ม Play ในหน้านี้ก็จะเป็นการสุ่มเกมหรือการ์ตูนสั้นภายในเว็บไซต์ให้ได้ลุ้นกันอีกด้วย
หรือจะเป็นเกมช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์อย่าง Selfie Santa แต่งหนวดให้ซานต้า, Elf Maker แต่งตัวเอลฟ์, Santa Canvas สร้างการ์ดคริสต์มาส, Quick Draw วาดรูปให้ AI ทาย, Snowbox ต่อบล็อค, Season of Giving ระบายสีของตกแต่งต้นคริสมาสต์, Code Boogie ออกแบบท่าเต้นให้กับเอลฟ์, Elf Jamband สร้างวงดนตรี
ในส่วนของ หนังยอดนิยม ช่วงคริสต์มาสก็ยังคงเป็น Home Alone ที่ครองตำแหน่งการค้นหามากที่สุดไปเช่นเดิม ตามมาด้วย The Grinch, National Lampoon’s Christmas Vacation, Die Hard และ Jingle All the Way (ส่วนผลการค้นหาเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ shorturl.at/inI39)
และถึงแม้ว่าปีนี้จะเป็นปีแห่งการ Work from home แต่ซานต้าก็ยังเดินทางไปแจกของขวัญให้แก่เด็ก ๆ ทั่วโลกอยู่ดังเดิม แถมไม่ต้องกลัวว่าจะติดเชื้อจากซานต้าแต่อย่างใดเพราะซานต้าในปีนี้เองก็สวมแมสก์ด้วยเช่นกัน ! และสามารถตามติดการเดินทางไปแจกของขวัญของซานต้าได้จาก Santa Tracker ที่จะเริ่มออกเดินทางในคืนวันที่ 24 ธันวาคมเป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม สำหรับ Santa Search หรือการเชิญซานต้าแบบ AR มาเที่ยวเล่นที่บ้านของปีนี้นั้นยังไม่มีวี่แววออกมาแต่อย่างใด คาดว่าเราน่าจะต้องรอให้ถึงวันคริสต์มาสก่อนจึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์นี้ได้
งาน Red Hat Forum Asia Pacific 2020 กับแนวโน้มตลาดสู่ยุค Digital Transformation
งาน Red Hat Forum Asia Pacific 2020 จบลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 20-21 ตุลาคม 63 ที่ผ่านมา ซึ่งงานในครั้งนี้เป็น Virtual Experience จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์
โดยในงานได้มีการเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ปัจจุบันองค์กรหลายแห่งต่างเร่งปรับตัว และทำให้ความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผลสำรวจที่ Red Hat ระบุว่า 95% ของผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยอมรับว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และจัดให้เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด และเติบโตในยุค New Normal เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบในการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการใหม่ ๆ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมากขึ้น
เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลไม่มีรูปแบบที่ตายตัว ดังนั้นการจัดงาน Red Hat Forum Asia Pacific ในปีนี้ จึงมีความมุ่งหมายในการสร้างแรงบันดาลใจให้องค์กรต่าง ๆ นำพลังของเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายระยะสั้นของตน และเป็นเทคโนโลยีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของการทำธุรกิจในยุค Next Normal เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว รางวัล Red Hat APAC Innovation Awards 2020 จึงให้การยกย่ององค์กรที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีไปใช้ และการใช้โซลูชันของ Red Hat ในการสร้างความแตกต่างของการดำเนินธุรกิจ ต่อภาคอุตสาหกรรม หรือชุมชนขององค์กรนั้น ๆ และแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาด้วย
การคัดเลือกผู้ได้รับรางวัล พิจารณาจากผลที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีของ Red Hat ไปใช้ที่มีต่อเป้าหมายทางธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ รวมถึงวิสัยทัศน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของโครงการนั้น ๆ โดยองค์กรที่ได้รับรางวัลได้แสดงให้เห็นว่า แพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์ส และวัฒนธรรมแบบเปิด ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มความคล่องตัว ประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการแก้ไขความท้าทายในอนาคต และเตรียมรับมือกับเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ และมีประสิทธิภาพให้กับองค์กรได้อย่างไร
ความคิดริเริ่มในการเป็นธนาคารแห่งอนาคต (Future Banking) ของธนาคารกรุงไทย มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโต มีศักยภาพสูงขึ้น และเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว KTBCS จึงได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานไอทีดั้งเดิมที่ล้าสมัย ซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงให้ทันสมัยขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก Red Hat Consulting และใช้ Red Hat Enterprise Linux, Red Hat JBoss EAP และ Red Hat Data Grid เพื่อปรับปรุงให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ มีมาตรฐาน และรองรับการใช้งานกับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ
GSB เร่งให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของธนาคารออกสู่ตลาดได้รวดเร็วมากขึ้น ท่ามกลางความสนใจของลูกค้าที่มีต่อบริการด้านการเงินในรูปแบบดิจิทัลที่ต้องมีความปลอดภัยในการใช้งาน เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ธนาคารได้ริเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มโอเพ่นแบงก์กิ้งที่สามารถโฮสต์ APIs ของตนเอง และให้บริการด้านการบริหารจัดการ (Managed Services) ให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งรัดกุม โดยได้โยกย้ายระบบของธนาคารไปใช้โอเพ่นซอร์สที่ทำงานอยู่บน Red Hat Enterprise Linux, Red Hat Application Runtimes, Red Hat 3Scale API Management, Red Hat JBoss Fuse และ Red Hat OpenShift ด้วยความร่วมมือ และช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจาก Red Hat Consulting การใช้ APIs ที่มีขนาดเล็กลงด้วยไมโครเซอร์วิส การที่ทีมพัฒนาและทีมปฏิบัติการ (DevOps) และเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ต่าง ๆ ทำงานอยู่บนสภาพแวดล้อมเดียวกัน เพื่อทำให้กระบวนการต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการทำงาน
Red Hat Consulting ได้ทำงานร่วมกับ TMB ในการนำ Red Hat Open Shift Container Platform บน Red Hat Enterprise Linux รวมถึงการนำ DevOps มาใช้เป็นมาตรฐานแพลตฟอร์มใหม่สำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชันต่าง ๆ ของธนาคาร ซึ่งนอกเหนือจากการที่ทำให้ธนาคารมีความสามารถในการพัฒนาบริการใหม่ ๆ ตามความต้องการของลูกค้า และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยให้ TMB สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการผ่านช่องทางดิจิทัลออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น บน Container Platform ที่มีเสถียรภาพ และความยืดหยุ่นสูง
ก่อนหน้านี้แพลตฟอร์มเดิมของ TMB มีข้อจำกัดหลายด้าน ทั้งไม่ยืดหยุ่นต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และปริมาณธุรกรรมดิจิทัลที่เติบโตขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาสิ้นเดือน หรือเมื่อมีแคมเปญพิเศษตามช่วงเทศกาล ซึ่งจะทำให้ระบบงานต้องทำงานถึงระดับสูงสุดเพื่อที่จะสามารถรองรับธุรกรรมที่สูงขึ้นในช่วงดังกล่าวได้ ธนาคารจึงต้องการแพลตฟอร์มที่มีเสถียรภาพ และความยืดหยุ่นสูง ให้สามารถรองรับการพัฒนาแอพพลิเคชันในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เพื่อส่งผลให้ธนาคารสามารถเดินหน้าเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ ตอกย้ำแนวทางการเติบโตด้านธุรกิจดิจิทัลแบงก์กิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน และท้ายที่สุด การพยายามมองให้ลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันทุกคนกำลังอยู่ใน Digital Economy ซึ่งมีหลายเทคโนโลยีรองรับ โดยเฉพาะทาง Red Hat ซึ่งเราจะต้องเปลี่ยนมุมมอง และวิธีการทำงานเพื่อตอบโจทย์ตรงส่วนนี้เพื่อให้ทุกบริษัทสามารถ Move on ไปสู่ Digitial Transformation ได้ดียิ่งขึ้น